แบบฝึกหัด
คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร ?
ตอบ เพราะกฎหมายคือข้อบังคับที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติและความขัดแย้งของมนุษย์ ถ้าหากไม่มีกฎหมายจะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์นั้นเกิดความวุ่นวาย และเกิดความขัดแย้งในสังคม
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร ?
ตอบ คิดว่าถ้าหากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งตนเองอยากกระทำโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน ความเสียหายต่างๆของผู้อื่น และทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม
3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้ ?
ก. ความหมาย
ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ 1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินพ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ 1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้ายผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆไปดังนี้
ก. กฎหมายภายในมีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอกมีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย ?
ตอบ เพราะกฎหมายคือข้อกำหนดทุกประเทศควรมีเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับให้ประชาชนใน ประเทศปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษ เป็นการ ควบคุมประชาชนในประเทศให้อยู่ในระเบียบของกฎหมาย หากประเทศใดประชาชนในประเทศปฏิบัติเคารพต่อกฎหมายอย่างเคร่งขัดก็จะทำให้ประเทศนั้นเจริญกว่าประเทศที่คนไม่เคารพกฎหมาย
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย ?
ตอบ คือบทลงโทษของผู้ที่ไม่เคารพและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ มีความแตกต่างกัน คือแตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย ?
ตอบ แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษรเป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้างมีกี่ประเภทแต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย ?
ตอบ ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็น กฎหมายที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้ง บันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายใน เครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่างๆตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารลบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความลก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
3.2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร ?
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกันในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไรโดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายโดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญเป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้นเช่นพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภาเป็นการทุ่นเวลาและทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายใน กฎหมายหลักฉบับนั้น
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก ?
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธีเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย ?
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือจะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมายเพื่อให้บุคคล ประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงามธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง ?
ตอบ ถ้าไม่ทราบเกี่ยวกับกฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และถ้าไม่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาอาจจะทำให้ไม่ทราบและปฏิบัติตนขัดกับกฎหมายที่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น