วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาค

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ อย่างไรก็ตามทั้ง 3 คำนี้มีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ เป็นกฎ กติกา ข้อบังคับของประชาชนที่อยู่ร่วมกันในสังคม แต่จะแตกต่างกันที่ข้อลงโทษ หากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น โดยนิยามความหมายของแต่ละคำมีดังต่อไปนี้ คือ 
     1. จารีตประเพณี เป็นสิ่งบรรพบุรุษกระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะถูกยอมรับจากสังคมนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง และหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่กระทำตามจารีตประเพณี ก็จะถูกสังคมประณามเหยียดหยามศักดิ์ศรีต่างๆนาๆ อย่างเช่น หญิงชายทั้งหลายต้องเข้าพิธีมงคลสมรสก่อนจะอยู่ร่วมกันได้
     2. ศีลธรรม เป็นกฎ ข้อห้าม ข้อบังคับที่มนุษย์ทุกคนต้องพึงมีอยู่ในตัว ซึ่งจะร่วมไปถึงความรับผิดชอบชั่วดีของแต่ละคน อย่างเช่น การด่าว่า ทอดทิ้งหรือไม่ให้การเลี้ยงดูบุพการี ล้วนแต่ขัดกับศีลธรรมอย่างชัดเจน 
      จากที่ได้กล่าวมาจากข้อที่ 1 และ 2 ทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรม ล้วนแต่เป็นบ่อเกิดของกฎหมาย
     3. กฎหมาย เป็นกฎระเบียบข้อบังคับที่ถูกตราขึ้นเพื่อควบคุมสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดี ให้ทุกคนสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับ ศีลธรรมและจารีตประเพณีนั่นเอง อย่างไรก็ตามกฎหมาย จะมีการตราบทลงโทษไว้ชัดเจนหากมีการละเมิด อย่างเช่น การฆ่าบุพการีมีโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นต้น

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง 
ตอบ ศักดิ์ของกฏหมาย หมายถึง ลำดับชั้นหรือฐานะของกฎหมายที่ถูกจัดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะตีความได้ว่า กฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงสุดจะไม่สามารถมีกฎหมายใดมาขัดได้ กล่าวคือ กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะไม่สามารถออกให้ขัดกับกฏหมายที่สูงกว่าได้ หรือที่เรียกว่ากฎหมายลูกกับกฎหมายแม่นั่นเอง หากออกมาและขัดกับข้อกฎหมายที่สูงกว่า จะถือเป็นโมฆะไม่มีการบังคับใช้ใดๆ ซึ่งเราจะพิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายนั่นเอง ซึ่งจะออกเป็น 3 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ
     1. กฎหมายที่ออกจากฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เป็นองค์รวมของกฎหมายทั้งหมดและมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น
     2. กฎหมายที่ออกจากรัฐสภา ซึ่งจะเน้นความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และทันต่อความต้องการของสังคมในขณะนั้น
     3. กฎหมายที่ออกจากฝ่ายบริหารหรือองค์กรต่างๆ อาจจะกล่าวได้ว่าหน่วยงานดังกล่าวนี้มีน่าที่ออกกฎหมายลูก ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้กรอบหรือนโยบายของกฎหมายแม่  
   ศักดิ์ของกฎหมาย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้
      1. กฎหมายแม่บทหรือกฎหมายแม่ ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติหรือคำสั่งคสช.
      2. กฎหมายที่รัฐธรรมนูญใหเ้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ประกอบด้วย พระราชบัญัติ พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ ตามลำดับ
      3. กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
      4. กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจออก คือ เทศบัญญัติ


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้

ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า

"วันนี้...ลูกชายวัย ขวบ อยู่ชั้น ป.ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้
ตอบ ตามที่ข่าวได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ในฐานะนักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้สึกหดหู่เป็นอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ก่อนอื่นกระผมขออภิปรายในเรื่องของความเป็นครูก่อนนะครับ จากการที่ได้สืบเสาะหาข้อมูลจากโลกโซเชี่ยวเช่นเดียวกับที่มาของข่าวนี้ มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้หลายรายระบุว่า ครูผู้ที่ทำร้ายเด็กคนนี้เป็นครูที่ไม่จบวิชาชีพครูโดยตรงหรือยังไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพนั้นเอง ยิ่งทำให้กระผมรู้สึกหดหู่ใจยิ่งหนักเพราะมีข่าวแบบนี้มาหลายครั้งหลายคราวแล้ว ซึ่งมีผลกระทบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพครูอีกมากมาย อย่างไรก็ตามการออกกฎเกณฑ์การรับสมัครเข้าแข่งสอบครูผู้ช่วยที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ทำให้หลายฝ่ายกังวลยิ่งนักว่าจะเกิดเหตุการณ์ในทำนองนี้อีก ในด้านของเด็กที่ประสบเคราะห์กรรมจากครูที่ไร้จรรยาบรรณแฉกเช่นนี้ถือมันเลวร้ายสำหรับเด็กมาก แผลที่ฝังลึกตรงกลางหัวใจของเขา จะทำให้เขาทรมานกับความคับแค้นเช่นนี้ไปถึงไหนต่อไหน ส่วนในเรื่องแง่ของกฎหมายแล้ว อยู่ที่ดุลพินิจของผู้บริหาร และพยานหลักฐานที่มัดตัวครูคนนี้มาลงโทษให้สาสมกับที่ได้ทำลงไป แต่ดูจากที่ข่าวได้กล่าวมาแล้ว ครูคนนี้ถูกลงโทษโดยการไล่ออก และแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายเด็ก

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
ตอบ
     จุดแข็ง
1. กล้าคิดกล้าตัดสินใจ
2. ใจเย็น มีความอดทนสูงมาก
3. คิดอย่างมีเหตุผล
4. ชอบอ่านหนังสือ
5. เคารพสิทธิของคนอื่น
     จุดอ่อน
1. ใช้เงินสรุ่ยสุหร่าย
2. ชอบคิดฝันเกินตัว
3. ทำงานให้เป็นดินพอกหางหมู
4. ไร้ไฟในการทำงานที่ไม่ชอบ
5. เกรงใจผู้อื่นจนเดือดร้อนตัวเอง
      โอกาส
1. ครอบครัวให้การสนับสนุนในการศึกษา และงานอดิเรกที่ชอบ
2. สามารถทำงานร่วมกับบุคคลหลากหลายอาชีพ
3. ได้รู้จักบุคคลมากหน้าหลายตาจากการทำงานอดิเรก
4. สามารถทำงานในอาชีพที่หลากหลายได้
      อุปสรรค
1. มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น ในการสอบเข้ารับราชการ
2. นโยบายของรัฐบาลไม่คง ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
3. ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการไปเรียนต่อต่างประเทศ

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
ตอบ สำหรับรายวิชานี้มีการเรียนการสอนที่ผิดแปลกไปจากวิชาอื่น เนื่องจากอาจารย์ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการเรียนรู้ในศตวรรตที่ 21 นักศึกษาสามารถหาความรู้ด้วยตนเองอย่างไร็ขีดจำกัดทันต่อยุคและสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของอาจารย์อยากจะให้ผ่านเฟชบุ๊คมากกว่าในไลน์ เพราะบางคนไม่ได้ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ จึงทำให้มีการเข้าใจผิดและข้อมูลตกหล่นได้ครับ โดยภาพรวมแล้วรายวิชานี้ อาจารย์จัดการเรียนการสอนได้ทันสมัยโดยการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดี ขอบคุณครับ